วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

โครงงานวิทยาศาสตร์

บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
เนื่องจากในชุมชนมีการอนุรักษ์ป่าชายเลน เพราะในป่าชายเลนมีต้นโกงกางใบใหญ่เป็นจำนวนมาก พวกเราจึงคิดค้นที่จะทดลองเกี่ยวกับใบโกงกางใบใหญ่ที่จะนำมาทำอาหารรับประทาน และค้นหาส่วนผสมที่จะนำมาปรุงรสให้เข้ากับใบโกงกางใบใหญ่ให้มีรสชาติที่น่ารับประทานและจะไม่มีอันตรายต่อสุขภาพต่อเรา
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1.เพื่อพัฒนารสชาติของใบโกงกาง
2.เพิ่มคุณค่าของใบโกงกางใบใหญ่ให้มีประโยชน์มากขึ้น
3.ศึกษาใบโกงกางใบใหญ่ที่จะนำมาประกอบเป็นอาหาร
สมมุติฐาน
ได้ใบโกงกางใบใหญ่มาทำเป็นอาหาร
ตัวแปรต้น ใบโกงกางใบใหญ่
ตัวแปรตาม รสชาติที่เกิดขึ้น
ตัวแปรควบคุม ระยะเวลาในการทอด
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1.ใช้เฉพาะใบโกงกางไม่อ่อนไม่แก่เกินไป
2.เวลาการหมักหมู่  1 ชั่วโมง
3.ขนาดของใบโกงกางพอดีคำ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.รสชาติของใบโกงกางใบใหญ่ที่แปลกใหม่ไปจากเดิม
2.เป็นการเพิ่มคุณค่าของใบโกงกางใบใหญ่
3.สามารถนำใบโกงกางใบใหญ่ทอดมาประกอบอาชีพเสริมในครอบครัวและได้ลดปัญหาการว่างงานเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้กับคนในชุมชน












บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ชื่อพื้นเมือง : กงกอน (เพชรบุรีชุมพร)โกงกางนอก กงกางนอก (เพชรบุรี)กงเกง (นครปฐม)กางเกง พังกา พังกาใบใหญ่ (ภาคใต้)โกงกางใบใหญ่ (ภาคใต้)ลาน (กระบี่)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhizophora mucronata Poir.

ชื่อวงศ์ : RHIZOPHORACEAE

ชื่อสามัญ : Red Mangrove

ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดใหญ่ มีรากเสริมออกมาเหนือโคนต้น รากค้ำยันแตกแขนงระเกะระกะ เรือนยอดรูปกรวยคว่ำแคบๆ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบคู่ล่างๆ จะหลุดร่วงไปเหลือกลุ่มใบที่ปลายกิ่ง ใบรูปรีถึงรีกว้าง มีติ่งแหลมเล็ก แข็ง สีดำ ที่ปลายใบ แผ่นใบหนา มีจุดเล็กๆ สีดำกระจัดกระจายทั่วไปทางด้านล่าง ช่อดอกออกตามง่ามใบที่ใบติดอยู่หรือร่วงไป ดอกตูมรูปไข่ มีใบประดับรองรับที่ฐานดอก กลีบเลี้ยง กลีบ กลีบดอก กลีบ ร่วงง่าย ผลคล้ายรูปไข่ปลายคอดสีน้ำตาลอมเขียว ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียว ค่อนข้างตรง ปลายเรียวแหลมยาว ผิวเป็นมัน สีเขียว มีตุ่มขรุขระทั่วไป
การกระจายพันธุ์ : ฝั่งทะเลตะวันออกของแอฟริกา เอเชีย ภูมิภาคมาเลเซีย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกจนถึงหมู่เกาะตองกา
สภาพนิเวศน์ : ป่าชายเลนตามฝั่งทะเลทั่วไป ขึ้นเป็นกลุ่มเดียวล้วนๆ ในที่มีดินเลนอ่อนและลึก บริเวณฝั่งแม่น้ำหรือคลองด้านนอกที่ติดกับทะเลที่มีตะกอนของสารอินทรีย์สะสมค่อนข้างหนาจนเกือบเป็นสีดำและมีกลิ่นเหม็นคล้ายไข่เน่า
ประโยชน์ : ใช้ทำเสาและหลักในที่น้ำทะเลขึ้นถึง มีความทนทาน ใช้ทำกลอนหลังคาจาก รอด ตง อกไก่ของบ้านตามชายทะเล ใช้ทำถ่าน เปลือกให้น้ำฝาดประเภท catechol ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง ฯลฯ น้ำจากเปลือกใช้ชะล้างแผล ห้ามเลือด กินแก้ท้องร่วง แก้บิด

ลักษณะของโกงกางใบใหญ่

ต้นโกงกางใบใหญ่ จะเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร (บ้างก็ว่าสูงประมาณ 30-40 เมตร) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเหนือคอ ราก เมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง ด้านรับแสงจะมีกิ่งก้านมาก เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเทา เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นๆ ส่วนเปลือกในเป็นสีส้ม ในกระพี้เป็นสีเหลืองอ่อน และแก่นเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้ฝักโดยตรง โดยใช้ฝักแก่ที่ยังสมบูรณ์ไม่มีโรคและแมลงเข้ามาทำลาย โดยดูได้จากบริเวณรอยต่อของฝักกับผลจะมีปลอกสีขาวอมเหลืองหุ้มอยู่ ถ้าหากมีขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร และเป็นสีเหลืองแสดงว่าฝักแก่สมบูรณ์แล้ว หรือจะเก็บฝักที่ร่วงหล่นลงน้ำก็ได้ เพราะถ้าฝักแก่สมบูรณ์จะลอยน้ำได้ เมื่อได้ฝักมาแล้วก็ให้นำมาปลูกในทันที เพราะถ้าเก็บไว้นานเท่าไหร่ความสามารถในการงอกก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
ลักษณะของรากของโกงกางใบใหญ่
รากโกงกางใบใหญ่ มีรากเป็นแบบค้ำจุนขนาดใหญ่ โดยจะงอกจากลำต้นออกเป็นจำนวนมาก ดูไม่เป็นระเบียบ เพราะแตกแขนงระเกะระกะ และมีลักษณะเป็นทรงเรือนยอดรูปกรวยคว่ำแบบแคบๆ
ลักษณะของใบโกงกางใบใหญ่
ใบโกงกางใบใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับตรงข้ามกัน โดยใบแต่ละคู่จะออกแบบสลับทิศทางกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปใบมนค่อนไปทางรูปหอก ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแข็งเล็กๆ ส่วนฐานใบสอบเข้าหากันคล้ายกับรูปลิ่ม หน้าใบเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนหลังใบเรียบเกลี้ยงและเป็นสีเขียวอมเหลือง และหลังใบยังมีจุดสีน้ำตาลเล็กๆ เห็นได้ชัดเจนอยู่ทั่วหลังใบ โดยใบมีความกว้างประมาณ 5-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-18 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวประมาณ 2.5-5.5 เซนติเมตร และยังมีหูใบสีแดงเข้มยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร หุ้มใบอ่อนไว้
ลักษณะของดอกโกงกางใบใหญ่
ดอกโกงกางใบใหญ่ ออกดอกเป็นช่อแบบ Cymes ในแต่ละช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกประมาณ 2-12 ดอก ดอกมีสีขาวอมสีเหลือง มีกลีบอยู่รอบดอก มีอยู่ด้วย 4 กลีบ ลักษณะของกลีบรอบกลีบดอกเป็นรูปไข่ ส่วนโคนกลีบติดกัน ส่วนกลีบดอกเป็นรูปใบหอก มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ขอบของกลีบดอกจะมีขนยาวขึ้นปกคลุมอยู่ และดอกจะมีเกสรตัวผู้จำนวน 8 อัน ยาวประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร

สรรพคุณของโกงกาง

1.ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน (ใช้เปลือกต้มกับน้ำดื่ม)
2.ช่วยแก้อาการท้องร่วง โดยใช้เปลือกนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้น้ำจากเปลือกนำมากินแก้อาการก็ได้เช่นกัน
3.ช่วยแก้บิด บิดเรื้อรัง โดยใช้เปลือกนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้น้ำจากเปลือกนำมากินแก้อาการก็ได้เช่นกัน
4.เปลือกใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาสมาน (เปลือก)
5.ใช้เปลือกตำแล้วนำมาพอกช่วยห้ามเลือดได้ดี หรือจะใช้ใบอ่อนเคี้ยวหรือตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบาดแผลสดและห้ามเลือดก็ได้เช่นกัน (ใบ,เปลือก)บ้างก็ว่าน้ำจากเปลือกก็ใช้ชะล้าแผลและห้ามเลือดได้เช่นกัน (น้ำจากเปลือก)
6.เปลือกนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างรักษาบาดแผลเรื้อรัง หรือจะใช้น้ำจากเปลือกก็ได้ (เปลือก,น้ำจากเปลือก)

ประโยชน์ต้นโกงกาง

ไม้โกงกาง มีลักษณะเปลาตรง เป็นไม้ที่มีคุณสมบัติแข็งแรง เหนียว ทนทาน จึงเหมาะสำหรับการนำมาแปรรูปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น ทำกลอนหลังคาจาก รอด ตง อกไก่ของบ้าน หรือใช้ทำไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยันต่างๆ ทำเสาและหลักในที่มีน้ำทะเลขึ้นถึง ทำเยื่อกระดาษ
ประโยชน์ไม้โกงกางที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการนำมาใช้ทำเป็นฟืนและถ่านเกรดคุณภาพดี ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ความร้อนสูงและนาน (ให้ค่าความร้อนประมาณ 6,600-7,200 แคลอรี) อีกทั้งยังมีขี้เถ้าน้อยและไม่เกิดสะเก็ดไฟเมื่อนำมาใช้งานอีกด้วย
เปลือกของต้นโกงกางมีสารแทนนินและฟีนอลจากธรรมชาติสูงมาก อีกทั้งยังมีราคาถูกที่สุด ซึ่งสารดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำยา ทำหมึก ทำสี ใช้ในการฟอกหนัง ใช้ทำกาวสำหรับติดไม้ เป็นต้น
เปลือกมีน้ำฝาดประเภท Catechol ให้สีน้ำตาลที่สามารถนำมาย้อมสีผ้าได้ เช่น ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง ฯลฯ
ป่าโกงกางมีความสำคัญอย่างมากสำหรับสัตว์ทะเลต่างๆ เนื่องจากเป็นที่วางไข่และฟักตัวอ่อน และเป็นแล่งที่มีสภาพสมดุลทางธรรมชาติสูงมาก
ป่าไม้โกงกาง สามารถช่วยป้องกันรักษาชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะของกระแสน้ำได้ และยังใช้เป็นแนวกำบังคลื่นลมที่เคลื่อนเข้ามาปะทะชายฝั่งได้เป็นอย่างดี












บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีในการดำเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์

วิธีการดำเนินงาน
วิธีการดำเนินการศึกษา
1. คณะผู้จัดทำจัดประชุมเพื่อปรึกษาและวางแผนแล้วนำเค้าโครงของโครงงาน (ตัวอย่างบทคัดย่อ) เสนอครูที่ปรึกษา  เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม
2.คณะผู้จัดทำได้ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
3.คณะผู้จัดทำได้ศึกษาและทดลองวิธีการทอดและวิเคราะห์เวลาการหมักหมูให้พอดี
4.คณะผู้จัดทำได้ประชุมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้  แล้วจัดสรรข้อมูล  เพื่อเรียงลำดับความสำคัญ  จำแนก และวิเคราะห์ผลการศึกษา
5.คณะผู้จัดทำจึงจัดพิมพ์รูปเล่มโครงงานและสื่อต่างๆ  เพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง
6.คณะผู้จัดทำนำเสนอผลการศึกษาโครงงานต่อผู้ชม  เพื่อให้ผู้ชมสอบถามและตอบข้อซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
กับผู้ชม

 
การจัดเตรียมวัตถุดิบและวิธีการทำใบโกงกางทอด
วัตถุดิบในการทำใบโกงกางทอด
1. ใบโกงกาง(ใบใหญ่)
 2. น้ำเปล่า
 3. กุ้งสับหรือหมูสับ ปูอัด
4. น้ำมันพืช
 5. แป้งประกอบอาหาร (โกกิ)
 6. น้ำจิ่มไก่
 7. ผงปรุงรสสำเร็จรูป (บาร์บีก้า บาร์บีคิว)
อุปกรณ์ในการทำใบโกงกางทอด
1.กาละมัง
 2. ตะแกง
 3. มีด
 4. กระทะ
 5. หม้อ
 6. ทัพพี
 7. กรรไกร
 8. ตะหลิว
 9. เตาแก๊ส
 10. จาน
 11. เขียง
 12. ถาด
 13. ช้อน ส้อม
 14. ถ้วยโฟม ชามโฟม
 15. หมวก ถุงมือ ผ้ากันเปื้อน
วิธีการทำใบโกงกางทอด
1.เลือกเอาใบโกงกางใบใหญ่ที่ไม่อ่อน และไม่แก่จนเกินไป หรือใบที่ 3 นับจากยอด
 2.นำมาล้างน้ำแล้วผึ่งให้แห้ง หั่นใบโกงกางออกเป็นสามส่วน
3.นำกุ้งสับ หมูสับ หรือเนื้อสัตว์ที่เตรียมไว้ มาทาลงบนใบโกงกางแล้วนำไปชุบแป้ง
4.นำมาทอดในน้ำมันด้วยไฟอ่อนๆ พอเหลืองได้ที่ตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
5.ถ้าต้องการรสเพิ่มเติมให้ปรุงรสด้วยผงปรุงรสสำเร็จรูป
6.แต่งจานตามต้องการ

















บทที่ 4
วิธีการดำเนินงาน
คณะผู้จัดทำได้ทำแผ่นพับโดยการนำสรรพคุณประโยชน์ของใบโกงกางและวิธีการทำใบโกงกางทอดโดยเฉพาะประวัติของต้นโกงกางใบใหญ่และได้รวบรวมศึกษาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับต้นโกงกางใบใหญ่และได้นำชื่อที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า (Rhizophora mucronata Pole)  หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ต้นโกงกางใบใหญ่นั่นเอง


บทที่ 5
สรุปผล
จากผลการทดลองพบว่า
จากการทดลองและวิเคราะห์พบว่าใบโกงกางทอดมีรสชาติที่น่าลิ้มลอง แป้งกรอบและมีกลิ่นหอมที่น่ารับประทานพอดีคำ และคณะผู้จัดทำยังได้ค้นพบรสชาติและวิธีการปรุงรสที่ไม่เหมือนใครนั่นคือการนำผงปรุงรสสำเร็จรูปมาปรุงแต่งเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มรสชาติที่แปลกใหม่และน่าลิ้มลองมากขึ้น
ประโยชน์
1. สามารถแปรรูปสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
2. มีรายได้เสริมจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใบโกงกางทอดเพื่อสุขภาพ
3. ได้รับความรู้จากการทำโครงงาน ทั้งการผลิต การแปรรูป
4.ได้รับความรู้ที่จะทดลองรสชาติที่แปลกใหม่ไปจากของเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น